การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya)


มะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya)
     มะละกอ จัดเป็นไม้ผลที่เกษตรกรนิยมปลูกไม่น้อย ทั้งนี้เพราะเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว ผู้ปลูกสามารถปลูกแซม ในพืชหลักก่อนให้ผลผลิต หรือปลูกเป็นพืชหลักเพื่อจำหน่าย ผลผลิตโดยตรง ในแง่ของผู้บริโภคแล้ว มะละกอเป็นผลไม้ ที่ได้รับความนิยมรับประทานกัน เพราะรับประทานแล้ว ไม่อ้วน แถมยังช่วยระบบขับถ่ายได้ดี
     สายพันธุ์มะละกอในบ้านเรา มีให้เลือกปลูกพอสมควร ที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง เห็นจะได้แก่มะละกอแขกดำ ซึ่งแบ่งเป็นสายๆ ไป เช่น แขกดำท่าพระ แขกดำศรีสะเกษ หากเป็นเกษตรกรต้องยกให้แขกดำของ คุณปรุง ป้อมเกิด ที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับสายพันธุ์ใหม่ มาแรง ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้แก่ มะละกอฮอลแลนด์ หรือชื่ออื่น คือ ปลักไม้ลาย และเรดมาลาดอล์
ลักษณะทั่วไปของมะละฮอลแลนด์
    มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมาก ว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน

ดอกและเพศของมะละกอ
    หลักการผลิตต้นพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์นั้น คล้ายกับการผลิตสายพันธุ์อื่นคือ ต้องการให้ได้ต้นกระเทย เพราะคุณภาพดี มะละกอมี 3 เพศด้วยกัน คือ มะละกอเพศผู้ ได้จากต้นที่มีดอกตัวผู้  ช่อของดอกยาวอย่างชัดเจน พบไม่บ่อยนัก  หากพบส่วนใหญ่เขาตัดทิ้ง  อีกเพศหนึ่งคือมะละกอตัวเมีย  ลักษณะของดอกจะอ้วนป้อม ได้ผลอ้วนสั้น  เนื้อไม่หนา  เพศสุดท้ายคือ   เพศกระเทย ดอกออกยาว   ผลที่ได้จากเพศนี้  ผลจะยาว  เนื้อหนา ผู้ปลูกมะละกอต้องการแบบนี้  รวมทั้งเก็บไว้ทำเมล็ดพันธุ์ต่อไป
    หลังปลูกมะละกอได้ 3 เดือน มะละกอจะออกดอก จะมีทั้งดอกตัวเมียและกระเทย ก่อนดอกบาน ผู้ปลูกจะต้องห่อดอกกระเทยด้วยมุ้งหรือผ้าขาวบางๆ  เพื่อให้มีการผสมเกสรตัวเอง และไม่ผสมข้ามพันธุ์กับต้นอื่นๆ เมื่อผลมะละกอสุกแก่ก็นำเมล็ดไปเพาะให้ได้ต้นใหม่   ซึ่งจะได้ผลกระเทย 70-80 เปอร์เซ็นต์

วิธีการปลูกมะละกอฮอลแลนด์
    สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5x3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15

    ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น

    เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่  วิธีการเก็บเกี่ยวนั้น เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย



    เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2551  เวลา 07.30-18.00 น.ที่ผ่านมา  พวกเราชุมชนเกษตรพอเพียง (ออนไลน์) มีโอกาสได้เดินทางไปท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ณ  จังหวัดปราจีนบุรี  เป็นครั้งที่ 2 พร้อมทั้งได้เ้ข้าชมสวนมะละกอ ของคุณอุดร  ซึ่งปลูกมะละกอหลายสายพันธุ์  หนึ่งในนั้นคือ  พันธุ์ฮอลแลนด์  จึงไ้ด้เก็บภาพสวยๆ มาฝากให้สมาชิกได้ชม  พร้อมทั้งได้นำความรู้ที่เป็นหลักวิชาการมาไว้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ และสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาด้วยครับ  
ภาพท่องเที่ยวเชิงเกษตร  สวนมะละกอฮอลแลนด์  ณ  จังหวัดปราจีนบุรี
สวนมะละฮอลแลนด์ คุณอุดร (จ.ปราจีนบุรี)
สาวเจียงใหม่กับมะละกอฮอลแลนด์
  
มะละกอพันธุ์แขกดำ
มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์
  
ผลสุกมะละกอฮอลแลนด์
เนื้อสุก  สีสวย  น่ารับประทาน
  
ต้นเล็กๆ ก็ให้ลูกแล้วครับ  ผลดกจริงๆ

ปริมาณน้ำตาลในผลไม้
     ไทยเป็นประเทศในเขตมรสุม  จึงอุดมไปด้วยพืชผัก ผลไม้  ผลไม้ไทยส่วนใหญ่มีรสหวาน ดังนั้นคุณค่าที่นอกเหนือจาก วิตามิน  เกลือแร่  และใยอาหารที่มีอยู่ในผลไม้  น้ำตาลเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มรสชาติ  และราคาให้แก่ผลไม้  แต่เป็นสิ่งที่ต้องระวังของผู้เป็นโรคเบาหวานมิให้ได้น้ำตาลมาก  เนื่องจากน้ำตาลกลูโคส   ต้องใช้อินซูลินนำเข้าสู่เซลล์  ผลไม้มิได้มีแต่กลูโคส  หรือ ซูโครส ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นกลูโคสได้ ในเวลาที่รวดเร็ว  แต่ยังมีฟรุ๊กโตสที่มีความหวานและเข้าสู่เซลล์ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน แต่ข้อมูลของชนิด และปริมาณน้ำตาลในผลไม้มีอยู่น้อย  ห้องปฏิบัติการกองโภชนาการจึงทำการศึกษา และ เผยแพร่โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง  ในการเลือกรับประทานผลไม้เพื่อสุขภาพของตนเอง  และผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก มิให้ได้รับน้ำตาลจากผลไม้มากเกินความต้องการ  จนถูกนำไปเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
   ผลไม้ที่นำมาวิเคราะห์ชนิด และปริมาณน้ำตาลตามตารางข้างล่างนี้  มีความสุกพอเหมาะในการรับประทาน  ดังนั้น  ผลไม้ที่สุกมากขึ้นแป้งย่อมถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลมากขึ้นด้วย


ชนิดและปริมาณน้ำตาลในผลไม้









เลขที่
ชื่อผลไม้
ปริมาณส่วนที่รับประทานได้


ปริมาณน้ำตาล , ก.



ปริมาณ
น้ำหนัก, ก.

ทั้งหมด
ฟรุ๊กโตส
กลูโคส
ซูโครส
1
ขนุน
1 ยวง
40

8.58
1.75
1.73
5.10
2
เงาะโรงเรียน
4  ผล
70

12.51
1.75
1.77
8.99
3
ชมพู่เพชร
1  ผล
100

7.95
4.05
3.90

4
แตงโมกินรี
10 ชิ้นคำ
140

11.20
5.46
2.30
3.44
5
ทุเรียน, หมอนทอง
1/2  เม็ด
40

8.52
0.38
0.40
7.74
6
มะขามหวาน
1  ฝัก
13

7.57
4.25
3.32

7
มะปราง
8  ผล
85

10.47
2.16
1.77
6.54
8
มะปรางหวาน
8  ผล
73

12.28
1.65
0.91
9.72
9
มะม่วงเขียวเสวย, สุก
1/4  ผล
60

11.30
1.15
0.62
9.53
10
มะม่วงน้ำดอกไม้
1/4  ผล
80

12.26
3.05
0.39
8.82
11
มะม่วงอกร่อง
1  ผล
100

13.45
5.46
0.49
7.50
12
มะละกอ แขกดำ
6 ชิ้นคำ
72

7.08
3.34
3.74

13
มังคุด
3  ผล
50

8.69
0.71
0.74
7.24
14
ลองกอง
6  ผล
100

16.02
7.40
7.09
1.53
15
ละมุดมาเลย์
1  ผล
60

9.37
3.33
2.99
3.05
16
ลำไย, กะโหลก
8  ผล
60

10.66
2.20
2.53
5.93
17
ลิ้นจี่, พันธุ์ค่อม
4  ผล
40

7.34
3.65
3.69

18
ส้มเขียวหวานบางมด
1  ผล
90

10.21
2.17
1.83
6.20
19
สับปะรด, ภูเก็ต
6 ชิ้นคำ
70

10.18
2.10
2.01
6.07
20
สับปะรด, ศรีราชา
6 ชิ้นคำ
70

8.82
2.47
2.31
4.04
21
องุ่นเขียว
8  ผล
50

6.29
2.94
3.35

        แหล่งที่มา ดร. พิมพร  วัชรางค์กุล กองโภชนาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น